_____

_____

วันศุกร์ที่ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2559

BEAUTY - Beauty Community

BEAUTY Community

ใครได้ยินชื่อนี้ในตอนนี้คงไม่มีใครไม่รู้จัก แต่เมื่อ 10 ปีก่อน (เริ่มเปิดเมื่อปี 2549) ธุรกิจได้ถูกก่อตั้งขึ้น และเข้าจดทะเบียนในตลาดหุ้นเมื่อปี 2555

ใครจะไปรู้ ว่าผ่านมาอีก 3 ปี นับจากเข้าตลาด ธุรกิจจะมีการเติบโตที่ต่อเนื่องแบบ Aggressive จริงๆ

ก่อนที่จะไปเริ่มรายละเอียดโดยย่อ ตั้งแต่นั่งอ่าน 56-1 ผมชอบบริษัทนี้มากเลย ไม่ว่าจะเป็น Business Model และงบการเงินก่อนเข้าตลาด ถือว่าไม่ธรรมดา จนช่วงที่ผ่านมาไม่นานได้ยินคนพูดถึงเลยว่า ถ้าเมื่อ 5 ปี ก่อนใครได้สังเกตหน้าร้าน Shop ของ Beauty เเล้วเดินเข้าไป (สอดรู้สอดเห็นสักนิด) อาจจะมีโอกาสได้จับหุ้น Growth ตัวนึงเลย (โอกาสแบบนี้มาไม่บ่อย)



บทความนี้ผมอยากจะให้จับตามคำอธิบายของผมสั้นๆใน Business Model นี้เพราะผมเชื่อว่านักลงทุนที่ตามล่า Growth Stock ต้องชอบใจแน่นวลล




เอาล่ะเข้าเรื่องกันดีกว่า

ธุรกิจเป็นธุรกิจเกี่ยวผลิตภัณฑ์เสริมความงามภายใต้ Brand ที่เป็นของไทยทั้งหมด โดยผ่านการร่วมมือกับ R&D ของบริษัทที่รับจ้างผลิตผลิตภัณฑ์ต่างๆ + Business Development ของบริษัทเอง
โดยมีโรงงานผลิตที่ ไทย อินโดนีเซีย เยอรมันนี เกาหลี

ปัจจุบันมีช่องทางการจำหน่ายและสัดส่วนรายได้แบ่งเป็นดังนี้
1. Shop Concept มีทั้งหมดตอนนี้ 323 สาขา สัดส่วนคิดเป็น 84% อยู่ภายใต้ Shop Brand ของตัวเอง 3 Brands ดังนี้
- Beauty Buffet 239 สาขา
- Beauty Cottage 71 สาขา
- Beauty Market 13 สาขา
2. Channel อื่นๆ 16% -----จำพวก Modern trade, E-commerce, Convenience Store.


โดยปัจจุบัน การขายของ Beauty นอกจากจะShop ของตัวเองแล้ว ยังมีกลุ่มที่มา เป็น Wholesaler and Distributor ซึ่งนำไปขายในต่างประเทศอีกด้วย รายได้เท่าที่เห็นตอนนี้ ยังมีการทำในรูปแบบ เฟรนไชน์ น้อยมากก

ซึ่งถ้าดูให้ดีๆ ธุรกิจนี้คล้ายกับ Business Model ของ 7-11 ไหมครับ

แนวโน้มการเติบโตที่ผ่านมา ซึ่งมาจากทั้งการทำการตลาดและ เพิ่มสาขาด้วย
- รายได้เติบโต 45%
- กำไรโต 58% โตเร็วจนน่าตกใจ

ส่วนของ GPM ในแต่ละส่วนก็ฟังเเล้ว น่าตกใจอีกเช่นกัน
- Beauty Buffet 60%
- Beauty Cottage 70%
- Beauty Market 30-40%

ข้อควรระวังสำหรับ ธุรกิจที่เป็น Retailer คือ เรื่องการควบคุมสินค้าคงเหลือ และเรื่องของการตกรุ่นหรือหมดอายุของสินค้า ซึ่งทาง Beauty ก็ทำได้ดีมากเช่นกัน (เดี๋ยวอธิบายในงบเพิ่มเติม)

พูดถึงงบการเงินกันหน่อย
งบกำไร/ขาดทุน
ขอดูงบนี้เป็นงบแรก เพราะจะได้รู้ว่าธุรกิจตอนนี้ พอไปรอดไหม
- จากข้อมูลข้างต้น รายได้โตมากกว่า ต้นทุน ซึ่งโตตามไม่ทัน นี้สิเจ๋ง
- พร้อมทั้งมีการกระตุ้นเพิ่มยอดสาขาและทำการตลาด ปี 2557-2558 นี้ ก้าวกระโดด ดึ๋งๆเลย (ราคาหุ้นก็เช่นกัน T T)
- EBITDA ที่สูง พร้อมทั้งส่วนของ EBIT ที่ยังสูง บ่งบอกว่า มีการตัดค่าเสื่อมที่น้อยมาก แสดงว่าไม่ได้เป็นธุรกิจที่ต้องลงทุนหนัก ซึ่งก็สอดคล้องกับตัวธุรกิจ


งบกระแสเงินสด Cash Flow (โอโห้)
- CFO(+)
***มาจากกำไรที่สูง และตามคาดตัดค่าเสื่อมแค่เพียง 60-70 ล้านเท่านั้น ถ้าเทียบกับการทำยอดขายได้แล้วถือว่า ชิคๆ เบบี๋มาก
***ไม่มีการเพิ่มของลูกหนี้การค้า อันนี้ก็เเจ่ม
***อัตราการเพิ่มของเจ้าหนี้การค้า มันมองได้ 2 มุม แต่สำหรับผม ผมมองว่าเป็นมุมของการที่มีอำนาจต่อรองมากขึ้นมากกว่า
- CFI (-) นำเงินไปซื้อเงินลงทุนชั่วคราวเพิ่มขึ้น
- CFF (-)  จ่ายปันผล รายการใหญ่หลัก รายการเดียวเลย

งบดุล
- D/E = 0.18 โดยประมาณ คือ หนี้แทบหาไม่เจอ แล้วส่วนที่บอกก็เป็นหนี้ที่ไม่มีภาระดบ. อีก (งบจะสวยไปไหน)
- สินค้าคงเหลือ ทรงๆ แสดงว่าการบริหารสินค้าคงเหลือ ทำได้เยี่ยม
- ที่สำคัญเงินสด ในมือ และ เงินเทียบเท่าเงินสด มีอยู่ประมาณ 50 % ของมูลค่าสินทรัพย์ทั้งบริษัท



สุดท้ายแล้ว การลงทุนมีความเสี่ยงนะครับ ศึกษาให้ดีก่อนตัดสินใจ

Offshore Investor....

ติดตาม Page ได้ที่
https://www.facebook.com/offshoreinvestorfc/

วันอาทิตย์ที่ 2 ตุลาคม พ.ศ. 2559

BWG : Better World Green

BWG : Better World Green
ดำเนินธุรกิจให้บริการบริหารและจัดการสิ่งปฏิกูลทั้งที่อันตรายและไม่อันตราย โดยมีศูนย์จัดการอยู่ที่จังหวัดสระบุรี
มีลักษณะการบริหารจัดการขยะดังนี้
1) ฝังกลบขยะที่ไม่เป็นอันตราย
2) ปรับลดความเป็นพิษของขยะที่เป็นอันตรายแล้วฝังกลบ
3) บำบัดน้ำเสียทั้งแบบระบบชีวภาพ และบำบัดน้ำเสียเคมี
4) ระบบปรับปรุงขยะเป็นเชื้อเพลิงหรือวัตถุดิบทดแทน





โครงสร้างบริษัท 
จะทำโดยบริษัทย่อยต่างๆ ดังนี้
1) BWC ถือหุ้น 99.99%
- เป็นบริษัทในการติดต่อและให้คำแนะนำแก่ลูกค้า
2) ETC 
ถือหุ้น 60%
- เป็นผู้รวบรวมขยะเพื่อผ่านกระบวนการและนำกลับมาใช้ในด้านพลังงาน เช่น โรงไฟฟ้า
(เท่าที่มีบันทึก 9.4 MW พร้อมทั้งการส่งเสริมการลงทุนจาก BOI ยังไม่ได้รับรู้รายได้ คาดว่าจะเสร็จ ภายใน 2559)
3) BWT ถือหุ้น 99.99%
- เป็นผู้ให้บริการในการขนส่งขยะ
4) AKP 
ถือหุ้น 51.2%
- ผู้บริหารเตาเผาขยะอุตสาหกรรมอันตรายของกรมโรงงานอุตสหกรรม

โครงสร้างรายได้
- ฝังกลบขยะที่ไม่เป็นอันตราย 15%
- ปรับลดความเป็นพิษของขยะที่เป็นอันตรายแล้วฝังกลบ 13%
- บำบัดน้ำเสียทั้งแบบระบบชีวภาพ และบำบัดน้ำเสียเคมี 5%
- ระบบปรับปรุงขยะเป็นเชื้อเพลิงหรือวัตถุดิบทดแทน 26%
- รายได้จากบริษัทย่อย 38%

ข้อเท็จจริงด้านข่าว
- จากประกาศของกกพ. มีรายชื่อการเข้าร่วมยื่นเอกสารของ BWG และบริษัทที่เกี่ยวข้อง 2 โครงการ
ภายใต้บริษัทย่อยที่ชื่อ

บริษัท เอวา แกรนด์เอ็นเนอร์ยี่ จำกัด
- บริษัท สิริลาภา พาวเวอร์ จำกัด
  (ดู Link ตามนี้ : http://www.erc.or.th/ERCWeb2/Front/News/NewsDetail.aspx?rid=3436&CatId=1&muid=36&prid=134)



จุดเด่นของ BWG
- เป็นต้นน้ำด้านการกำจัดขยะอยู่แล้ว ถ้าต่อยอดได้จะเจ๋งมาก
- คู่แข่งด้านการเข้ามาจัดการและควบคุมการกำจัดของเสีย ถือว่าไม่ได้เข้ามาง่าย ต้องอาศัยประสบการณ์และต้องได้ใบอนุญาติการดำเนินธุรกิจเช่นกัน
- งบการเงินเเข็งแกร่งมาก ทั้ง Balance Sheet, Income Statement & Cash flow 
มีการลงทุนเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องและชัดเจน 
*****จริงมันมีรายละเอียดอยู่ว่า 1H ที่ผ่านมานั้น จ่ายเงินไปซื้อพวกโครงการและทำบริษัทย่อย 2 บริษัทที่กล่าวไปข้างต้นด้วย (ไม่ขอลงรายละเอียดลึกนะครับ กลัวผิดพลาดเดี๋ยวจะไม่รู้เอาหน้าไปไว้ไหน)****


จุดด้อย
- ถ้ามีการลงทุนหนักๆ มีความเป็นไปได้ ว่าอาจจะมีการเพิ่มทุนอีก
- ได้ยินเรื่องปัญหาด้านสายส่ง ซึ่งต้องติดตามต่อว่า BWG จะแก้ปัญหายังไง ไม่รู้ว่าเรื่องราวไปถึงไหน 555555


อีก 1 เรื่องสุดท้ายที่สำคั๊ญ สำคัญ คือ Freefloat 83.47% คุณรู้ ผมหมายถึงอะไร 5555

Offshore Investor (The Flash)

Update:
31 Oct 2016: ETC ซึ่งเป็นบริษัทลูกของ BWG เข้าถือหุ้น L88 100%(Link88) ซึ่งไปถือหุ้นใน RH (Recovery House) ซึ่งเพิ่งได้ผลการประมูลโรงไฟฟ้าขยะ ขนาด 5.5MW ทำให้ BWG ถือ RH โดยอ้อมและจะได้รับรู้รายได้จาก โรงไฟฟ้าขยะขนาด 5.5MW ในประมาณการ
อีกทั้ง เอวา ก็เป็นบริษัทย่อยของ ETC ซึ่งถือโดย BWG แต่ต้นแล้ว ทำให้ BWG ได้ 2 โครงการ

โดยข่าวการได้รับ PPA นี้นั้น มี BWG-8.5MW, PSTC- 2.2MW, SCC- 7MW, WHA- ???MW



ติดตาม Page ได้ที่